ที่ (จิต) ชื่อว่า "มนายตนะ" อธิบายในคำว่า มนายตนะ นั้น มนะ พึงทราบว่า อายตนะ เพราะความหมายว่า เป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุมและเป็นเหตุ จริงดังนั้น แม้ผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดในมนะนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะภายนอก ย่อมประชุมที่มนะโดยความเป็นอารมณ์ แม้เพราะความหมายว่า เป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุแห่งผัสสะ เป็นต้น โดยอรรถว่า เป็นสหชาตปัจจัย
จิตทุกขณะเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ แต่ที่จะเข้าใจลักษณะซึ่งเป็นอนัตตาของจิตได้ยิ่งขึ้น ก็โดยรู้ว่า จิตเป็นมนายตนะ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุม และเป็นเหตุ
ถึงรูปจะมีก็จริง ถึงเสียงจะเกิดขึ้นก็จริง ถึงกลิ่นจะมีปัจจัยเกิดขึ้นก็จริง ถึงรสต่าง ๆ จะมีก็จริง ถึงเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็งต่าง ๆ จะมีก็จริง แต่ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ ถ้าจิตไม่เป็นที่ประชุมของธรรมเหล่านั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฎไม่ได้ เสียงก็ปรากฎไม่ได้ กลิ่นก็ปรากฎไม่ได้ รสต่าง ๆ ก็ปรากฎไม่ได้ เย็น ร้อน อ่อน แข็งก็ปรากฎไม่ได้ แต่เพระว่าจิตเป็นสภาพรู้ จึงเป็นที่อาศัย เป็นที่ประชุม เป็นเหตุที่จะให้สภาพธรรมปรากฎ สีสัน วัณณะข้างหลังไม่ปรากฎ เพราะไม่ได้ประชุม คือ ไม่กระทบกับจักขุปสาท ไม่กระทบกับจิต จิตจึงไม่เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหลัง แม่ว่ากรรมเป็นปัจจัยทำให้จักขุปสาทเกิดขึ้น และดับไป ๆ สืบต่ออยู่เรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังไม่ตาบอด แต่ติตที่เห็นก็ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น ขณะใดที่สีสันวัณระปรากฎ ขณะนั้นจิตเป็นมนายตนะ เป็นที่ประชุมของรูปที่กระทบกับจักขุปสาท ขณะนั้นรูปที่กระทบจักขุปสาท ก็เป็นรูปายตนะ จักขุปสาทที่กระทบรูปก็เป็นจักขายตนะ สภาพธรรมใดที่ประชุมรวกันในขณะนั้น เป็นอายตน แต่ละอายตนะทั้งสิ้น
เสียงต้องกระทบกับโสตปสาทและกระทบกับจิต จิตจึงเกิดขึ้นรู้เสียงที่ปรากฎได้ ฉะนั้น จิตจึงเป็นมนายตนะ เป็นที่ประชุมของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ
ข้อความในอัฎฐสาลินนีที่ว่า แม้เพราะความหมายว่า (จิต) เป็นเหตุ คือ เพราะจิตเป็นเหตุแห่งผัสสะ เป็นต้น
ผัสสะเป็นเจตสิกประเภทหนึ่งใน ๕๒ ประเทภ ผัสสเจตสิกเป็นนามธรรมที่กระทบอารมณ์ ขณะที่รูปกระทบกับรูป เช่น ต้นไม้ล้มกระทบพื้นดิน การกระทบกันของต้นไม้และพื้นดิน ไม่ใช่ผัสสเจตสิก ขณะที่เสียงกระทบกับโสตปสาท โสตปสาทเป็นรูป เสียงเป็นรูป ถ้าผัสสเจตสิกไม่เกิดขึ้นกระทบเสียงที่กระทบโสตปสาท จิตได้ยินก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย
ผัสสเจตสิก เป็นนามธรรมซึ่งเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต ฉะนั้นจึงเป็นเหตุแห่งผัสสะ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตและเจตสิกต้องเกิดที่รูปใดรูหนึ่งเสมอ รูปใดเป็นที่เกิดขอจิตและเจตสิก รูปนี้เป็นวัตถุรูป จักขุปสาทเป็นวัตถุรูป เพราะเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ สภาพธรรมที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นโดยลำพังอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีสภาพธรรมอื่น เป็นปัจจัยเกิดร่วมด้วยพร้อมกันในขณะนั้น
....................................................
คัดลอกจาก....ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขปและภาคผนวก
โดย...อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์