ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน เราเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ด้
วยผลของมหากุศลกรรม (กุศลวิบาก) ชีวิตแต่ละขณะจิตเป็นไปตามเหตุ
ปัจจัย ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดเพราะมีเหตุ
ปัจจัย
.... กรรม (เจตนาเจตสิก, กรรมไม่ใช่จิต) เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิบาก.....
กรรมดีส่งผลให้เกิด
กุศลวิบาก....กุศล คือ สภาวะธรรมที่สบาย สบายใจ เป็นความสุข ขณะใดที่จิตเป็นไปในทาน ศีล ความสงบของจิต และการอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้นจิตเป็นกุศล....
กรรมชั่วส่งผลให้เกิด
อกุศลวิบาก....อกุศล คือ สภาพธรรมที่ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ ขณะใดที่จิตไม่เป็นไปในทาน ศีล ความสงบของจิต และอบรมเจริญปัญญา ขณะนั้น จิตเป็นอกุศล
การแก้กรรมในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การพยายามละการกระทำความชั่วทั้งปวง ทางกาย ทางวาจา และทางใจ หมั่นสร้างกุศลกรรมให้เจริญยิ่ง ๆ ด้วยการปฏิบัติดังนี้
๑. มีความละอายเกรงกลัว (หิริโอตตัปปะ) ต่อการ พูดชั่ว กระทำชั่ว คิดชั่ว มีความเห็นตรงตามความเป็นจริง คือเห็นโทษของอกุศล (อกุศล คือ สภาวะธรรมที่ไม่สบายใจ เป็นความทุกข์)
๒. มีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณต่อตนเอง เมื่อมีโอกาสตอบแทนบุญคุณ ก็ควรกระทำตอบแทน และการเคารพนับถือผู้ควรให้ความเคารพนับถือ มีความอ่อนน้อมและว่าง่าย ไม่ถือตน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถือว่าผู้อื่นที่ติเตียนเราในข้อผิดพลาด คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้แก่เรา
๓. เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการรักษาศีล ศีลเป็นคุณธรรมหรือเครื่องคุ้มครอง กายและวาจา ไม่ให้กระทำสิ่งที่เป็นอกุศล ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นศีลบริสุทธิ์
๔. รู้จักเสียสละ การให้ทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เพราะว่าการกระทำใด ๆ ก็ตามย่อมมีผลทั้งสิ้น...... ทำเหตุดี ผลย่อมดีแน่นอน "การให้" ก็มีหลายประเภท เช่น ให้คำพูดที่สุภาพกับผู้อื่น..... ให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความเดือดร้อน..... ให้ความเมตตา (ความรักและความเป็นมิตรเสมอเหมือนกันหมด)......ให้ความสงสาร (เมื่อเห็นผู้อื่นประสบกับความทุกข์ มีจิตปรารถนาที่จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์)....... "การสละ" และ "การให้ทาน" ต้องกระทำด้วยความจริงใจ ให้เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น ก่อนให้ก็มีความสุขใจ ขณะให้ก็มีความยินดีในการให้ หลังการให้ไปแล้ว ก็มีความอิ่มเอิบแช่มชื่นเบิกบานใจเมื่อนึกถึงทานที่ได้กระทำไปแล้ว แต่ไม่ใช่นึกถึงว่าเราทำได้ นั่นเป็นความสำคัญตน เป็นอัตตา ขณะให้ทานไม่ใช่เรา แต่เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นขณะนั้น การให้ทานเป็นการละโลภะละความติดข้อง
....การทำบุญตักบาตร การถวายสังฆทาน การให้อภัย การให้ธรรมทาน เหล่านี้ก็เป็น "ทาน" เช่นกัน
๕. การสวดมนต์ภาวนาและการฝึกความสงบของจิต การสวดมนต์เป็นความสงบของจิตเช่นกัน เพราะเหตุว่าขณะสวดมนต์จิตเป็นกุศล จิตจดจ่อตั้งมั่นอยู่ที่ตัวอักขระหรือบทสวดมนต์ ขณะใดที่จิตแว่บไปคิดเรื่องอื่น ขณะนั้นจิตก็เป็นอกุศล ความสงบของจิต หมายถึง ความสงบจากความฟุ้งซ่าน สงบจากกิเลสทั้งปวง คือสงบจากโลภะ (ความติดข้อง ต้องการ ยินดี พอใจ) สงบจากโทสะ (ความขุ่นใจ ขัดเคืองใจ ไม่พอใจ หงุดหงิด รำคาญใจ กังวลใจ น้อยใจ ฯลฯ) สงบจากโมหะ (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ของสภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ, ความหลง เผลอหรือความไม่รู้ อันหมายถึงอิชชา) การเจริญสมาธิมิได้หมายถึงการนั่งหลับตา แล้วเห็นโน่นเห็นนี่ เห็นอะไรต่าง ๆ นั่นไม่ใช่ทางทื่ถูก แต่เป็นทางหลงไปจากความเป็นจริง เป็นมิจฉาสมาธิ ทางสงบที่ถูกต้องนั้น ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้ตามความเป็นจริง ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ สติทำหน้าที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏขณะนี้เท่านั้น อยู่ดี ๆ สติจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องฟังธรรมที่ถูกต้อง ฟังเรื่องสติปัฏฐาน
ส่วนปัญญาทางพระพุทธศานานั้น
หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ.....ปัญญารู้รูปนาม (ขันธ์ ๕) ตามความเป็นจริง
ว่าไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา..... ปํญญามีหลายระดับ เช่น
ระดับการฟัง (ฟังธรรมะเพื่อสะสมความรู้ ละความไม่รู้ คือละอวิชชาทีละน้อย)
ปัญญาขั้นคิดพิจารณาธรรมที่ได้ฟังแล้ว และปัญญาขั้นสูงสุดคือ อบรมเจริญปัญญาจนสามารถประหารกิเลสได้ ไม่มีการเกิดดับอีกต่อไป คือ "นิพพาน" สรุปแล้วต้องฟังธรรมและศึกษาให้เข้าใจก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
ธรรมะเป็นเรื่องของชีวิตปัจจุบัน ไม่ได้แยกว่าจะต้องใช้เวลาโน้นเวลานี้ ธรรมเกิดตลอดเวลา แต่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง ก็เลยเข้าใจว่า ทางโลกกับทางธรรมแยกกัน ยังเข้าใจผิดมาก คนมีธรรมะเป็นที่พึ่ง ไม่อดตายเพราะมีปัญญาสามารถแก้ปัญหาได้ตามเหตุตามปัจจัย คนไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่ง เมื่อมีปัญหาหนักก็คิดหนีปัญหา โดยการฆ่าตัวตายก็มีเยอะ หารู้ไม่ว่าจิตของเขาได้สะสมบาปสืบต่อไปในชาติหน้าอีกหลายภพชาติ เพราะว่าอวิชชาปิดบังจึงทำให้กระทำบาป....
ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง "จิต" ขั้นพื้นฐานเสียก่อน เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน "จิต" เป็นสภาพรู้ คิดนึก เป็นนามธรรม หรือธาตุ จิตทำหน้าที่แตกต่างกันตามวิถีที่เกิด เช่น จิตเกิดทางตา (จักขุทวาร) ทำหน้าที่เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จิตเห็นไม่ทำหน้าที่ได้ยิน....จิตเกิดที่หู (โสตทวาร) ทำหน้าที่ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ปรากฏทางหู....จิตเกิดที่จมูก (ฆานทวาร) ทำหน้าที่รู้กลิ่นที่มากระทบจมูก....จิตเกิดที่ลิ้น (ชิวหาทวาร) ทำหน้าที่ลิ้มรสต่าง ๆ จิตเกิดที่กาย (กายทวาร) ทำหน้าที่รู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้ไหว รู้ตึง....จิตเกิดที่ใจ(มโนทวาร) ทำหน้าที่รู้ความคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ คนเราทุกข์เพราะความนึกคิดของตนเอง เพราะสติไม่เกิดระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
จะเห็นได้ว่า "จิต"
เกิดได้ ๖ ทางเท่านั้น (ทวารทั้ง ๖) พอตาเห็นจิตก็จะคิดทันที
ขณะที่จิตคิดนึกนั้น เป็นคนละขณะกับที่เห็นแล้ว เพราะว่า "จิตเห็น" ดับไปแล้ว
จึงเกิด"จิตคิดนึก" (มโนวิญญาณ)
ถ้าสติไม่เกิดระลึกรู้ตามความเป็นจริง ว่าที่เห็นสิ่งต่าง ๆ
ทางตานั้น ไม่ใช่เราเห็น แต่เป็น "จิตเห็น" (จักขุวิญญาณ)
อันนี้เป็นปัญญาขั้นหนึ่งล่ะ ถ้าได้ยินเสียงต่าง ๆ สติระลึกรู้ว่า เป็นเพียง "จิตได้ยิน" (โสตวิญญาณ) เกิดขึ้นทำหน้าที่รู้เสียงเท่านั้น เสียงด่าหรือเสียงชม ก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นให้จิตรู้เท่านั้น แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แล้วจะเอาอะไรมาโกรธ ในเมื่อมีแต่จิตหรือสภาพรู้เท่านั้น จิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วจิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้น
สืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ฝึกระลึกรู้อย่างนี้อยู่เนื่อง ๆ
เป็นการอบรมเจริญสติ.... เห็นมั้ยว่า การปฏิบัติธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต้องมานั่งหลับตาอย่างที่คนทั่ว ๆ เข้าใจเลย ต้องรู้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น จึงจะอยู่กับความทุกข์ได้
ความทุกข์และความสุขเป็นอนัตตา ไม่มีใครจัดการอะไรได้ ทุกอย่างเป็นธรรมะ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจทุกขณะจิตเป็นวิบากจิต คือเป็นผลจากกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีตชาติหลาย ๆ ชาติประมวลมา
เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ถึงเวลาที่จะส่งผล ก็จะต้องปรากฏให้เราได้เสวย ทุกคนมีโลกส่วนตัว คือ โลกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เราเป็นผู้เสวยผลกรรมของเราเอง
ฉะนั้นเมื่อเกิดมาแล้ว
ไม่รู้เรื่องพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ก็จะไม่มีโอกาสได้พบกับความสุขที่แท้จริง ชาตินี้เป็นเหตุของชาติหน้า ถ้าชาตินี้จิตเต็มไปด้วยอกุศล คือเต็มไปด้วยความทุกข์ แล้วชาติหน้าปฏิสนธิจิต จะนำไปปฏิสนธิในภพไหน ก็คงตอบเองได้ เพราะผลต้องตรงกับเหตุ ธรรมะเป็นเรื่องของเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะ .....
ชีวิตคนเราสั้นมากสำหรับการทำความดี ตายแล้วต้องเกิดอีกแน่นอน เพราะจิตยังไม่บรรลุมรรคผล
ขั้นพระอรหันต์ จิตที่หยาบมาก ๆ ก็จะมีที่ไปคือทุคติ ถ้ายังคิดว่าเงินทองสำคัญมากสำหรับชีวิต
จิตเต็มไปด้วยเรื่องกำไรขาดทุนอยู่ตลอดเวลา หรือแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันอยู่ ไม่เกิดประโยชน์เลย สติไม่เกิดระลึกรู้สภาพธรรมขณะนั้น ว่าที่คิดอยู่นั่นน่ะ คืออกุศลจิต ถ้าสติระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้
กุศลจิตก็จะเกิดได้ขณะนั้น เราต้องกินต้องดำรงชีพต่อไป แต่ก็ควรมีธรรมะเป็นเครื่องคุ้มครองจิต "สติ" คุ้มครองจิตไม่ให้ไหลไปสู่ที่ต่ำ จิตที่เต็มไปด้วยอกุศล หยาบมากก็จะเหมือนกับน้ำสกปรกทีอยู่ใน
แก้วใส ๆ น้ำสกปรก เราก็เห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นน้ำสกปรก เมื่อเห็นตรงเช่นนี้
เราก็แก้ไขใหม่ได้ เพราะเรารู้ว่าน้ำสกปรกนี้ ทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลย
เมื่อก่อนเราไม่รู้จริงว่า มันเป็นน้ำสกปรก เราก็ดื่มเข้าไปเรื่อย ๆ ก็รู้สึกว่าร่างกายไม่ค่อยสบายอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้น เรามาลองเติมน้ำที่สะอาดลงไปในแก้วน้ำสกปรกทีละน้อย ๆ จนน้ำสกปรกล้นไหลออกหมด แล้วมีน้ำใส ๆ เข้ามาแทน ทีนี้ดื่มได้สสบายทั้งกายและใจ
วิธีการแก้กรรมก็เหมือนการแก้น้ำสกปรกนี่แหละ คือเติมความดีให้กับจิตวันละเล็กวันละน้อย ด้วยการฟังธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ทำบุญ ทำทาน ตามกาล ฯลฯ การแก้กรรมไม่ใช่แก้แบบต้องไปทำพิธีเสริมดวงหรือรับขันธ์อะไรต่าง ๆ นั่นเป็นเรื่องของคนไม่มีปัญญา ไม่ได้ศึกษาธรรมะ และไม่รู้ที่ถูกต้อง ถ้าอยากจะศึกษาพระธรรม ก็ต้องแบ่งเวลาเพื่อตัวเองบ้าง จะได้ขัดเกลาจิตใจ ต้องเริ่มต้นด้วยความเห็นถูกต้อง ว่าเราเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นรกและสวรรค์มีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เทวดามีจริง......คนเราไม่มีใครรักคนอื่นยิ่งกว่าตนเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราแก้กรรมด้วยวิธีที่ถูกต้อง ชีวิตก็จะพบกับความสุขความเจริญ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า และจะพบแต่สิ่งที่ดี ๆ พบแต่คนที่ดีที่ ช่วยเหลือเกลื้อ
กูลกัน..... ธรรมะเป็นของสูง เป็นของผู้มีบุญ เป็นของผู้ที่เคยได้สะสมมาแต่อดีตชาติ จึงได้มาสะสมต่อ......ขอทุกท่านจงเป็นผู้มีธรรมะของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งของชีวิตเถิดนะ เพราะไม่มีใครเป็นที่พึ่งที่วิเศษไปกว่านี้
........................................