กามาวจรจิตซึ่งยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้นเหนียวแน่นมาก แม้ว่ารูปจะปรากฏเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยเหลือเกิน คือ ชั่วขณะที่กระทบจักขุปสาท คือ ตา เสียงก็ปรากฏเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยเหลือเกิน คือ ชั่วขณะที่กระทบกับโสตปสาท กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็เช่นเดียวกัน ล้วนเป็นปริตตธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏเพียงเล็กน้อยแล้วก็ดับไป แต่จิตก็ยินดีพอใจติดข้องในปริตตธรรมนั้นอยู่เสมอ เพราะการเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของปริตตธรรมนั้น ๆ จึงดูเสมือนไม่ดับไป
ความเพลิดเพลินยินดีพอใจในกามอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่หมดสิ้น แม้ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น ๆ จะดับไปแล้ว แต่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่น ๆ ก็เกิดสืบต่อ ทำให้เกิดความหลงติดยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเห็นรูปใดก็ตาม ซึ่งเป็นที่พอใจแล้ว ก็อยากจะเห็นอีกบ่อย ๆ เมื่อได้ยินเสียงที่พอใจแล้ว ก็อยากได้ยินเสียงนั้นอีก กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็เช่นเดียวกัน เมื่อบริโภครสใดที่พอใจแล้ว ก็อยากบริโภครสนั้นซ้ำ ๆ อีก ความยินดีพอใจติดข้องในรูป เสียง กลิ้น รส โผฏฐัพพะ เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ซ้ำแล้วซ้ำอีกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง
เมื่อชอบสิ่งใดก็อยากจะเห็นสิ่งนั้นอยู่ตลอดเวลาได้ไหม ไม่ได้ เพราะสังขารธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อรสอร่อยเกิดขึ้นปรากฏ ความพอใจก็อาศัยลิ้นเกิดขึ้น ขณะนั้นความพอใจทางตา หู จมูก กายไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดความพอใจในกลิ่นที่ปรากฏ ขณะนั้นความพอใจทางตา หู ลิ้น กาย ก็ไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นทีละขณะเท่านั้น จะมีจิต ๒ ดวงเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้เลย ทุกคนพอใจในสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏสลับกันทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ไม่ใช่พอใจเฉพาะในสีเดียว เสียงเดียว กลิ่นเดียว รสเดียว และโผฏฐัพพะเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะสะสมสืบต่ออยู่เรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต
ฉะนั้น กามาวจรจิต คือ จิตขั้นกามที่ท่องเที่ยวไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นจิตที่ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นจิตที่ไม่พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ บางท่านก็บอกว่าทำบุญแล้วอยากจะเกิดในสวรรค์ สวรรค์ก็ไม่พ้นไปจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่เป็นกามอารมณ์ที่ประณีตกว่ากามอารมณ์ในโลกมนุษย์
เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย ขณะใดที่จิตสงบไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ คือ ไม่เป็นฌานจิต และไม่เป็นโลกุตตรจิต ขณะนั้นก็เป็นกามาวจรจิต ขณะหลับและตื่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเลย แต่เป็นจิตขั้นกาม คือ กามาวจรจิตทั้งสิ้น
ผู้ที่ไม่ใช่พระอนาคามีและพระอรหันต์นั้น ยังมีความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แสดงว่าความพอใจในกามอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นละได้ยากเพียงใด และถึงแม้ว่าจะอบรมเจริญความสงบถึงขั้นฌานจิต และเกิดในพรหมโลก ก็ยังละความยินดี พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่ได้เป็นสมุจเฉท เมื่อยังไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล ก็ยังต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือ เป็นผู้ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉะนั้น จึงไม่ควรประมาทกิเลส และจะต้องเข้าใจสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ตามเหตุผล จึงจะสามารถอบรมเจริญปัญญาที่ดับกิเลสได้จริง ๆ เป็นสมุจเฉท
ความเพลิดเพลินยินดีพอใจในกามอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่หมดสิ้น แม้ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น ๆ จะดับไปแล้ว แต่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่น ๆ ก็เกิดสืบต่อ ทำให้เกิดความหลงติดยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ เมื่อเห็นรูปใดก็ตาม ซึ่งเป็นที่พอใจแล้ว ก็อยากจะเห็นอีกบ่อย ๆ เมื่อได้ยินเสียงที่พอใจแล้ว ก็อยากได้ยินเสียงนั้นอีก กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็เช่นเดียวกัน เมื่อบริโภครสใดที่พอใจแล้ว ก็อยากบริโภครสนั้นซ้ำ ๆ อีก ความยินดีพอใจติดข้องในรูป เสียง กลิ้น รส โผฏฐัพพะ เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ซ้ำแล้วซ้ำอีกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง
เมื่อชอบสิ่งใดก็อยากจะเห็นสิ่งนั้นอยู่ตลอดเวลาได้ไหม ไม่ได้ เพราะสังขารธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อรสอร่อยเกิดขึ้นปรากฏ ความพอใจก็อาศัยลิ้นเกิดขึ้น ขณะนั้นความพอใจทางตา หู จมูก กายไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดความพอใจในกลิ่นที่ปรากฏ ขณะนั้นความพอใจทางตา หู ลิ้น กาย ก็ไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นทีละขณะเท่านั้น จะมีจิต ๒ ดวงเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้เลย ทุกคนพอใจในสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏสลับกันทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ไม่ใช่พอใจเฉพาะในสีเดียว เสียงเดียว กลิ่นเดียว รสเดียว และโผฏฐัพพะเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะสะสมสืบต่ออยู่เรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต
ฉะนั้น กามาวจรจิต คือ จิตขั้นกามที่ท่องเที่ยวไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นจิตที่ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นจิตที่ไม่พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ บางท่านก็บอกว่าทำบุญแล้วอยากจะเกิดในสวรรค์ สวรรค์ก็ไม่พ้นไปจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่เป็นกามอารมณ์ที่ประณีตกว่ากามอารมณ์ในโลกมนุษย์
เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย ขณะใดที่จิตสงบไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ คือ ไม่เป็นฌานจิต และไม่เป็นโลกุตตรจิต ขณะนั้นก็เป็นกามาวจรจิต ขณะหลับและตื่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเลย แต่เป็นจิตขั้นกาม คือ กามาวจรจิตทั้งสิ้น
ผู้ที่ไม่ใช่พระอนาคามีและพระอรหันต์นั้น ยังมีความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แสดงว่าความพอใจในกามอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นละได้ยากเพียงใด และถึงแม้ว่าจะอบรมเจริญความสงบถึงขั้นฌานจิต และเกิดในพรหมโลก ก็ยังละความยินดี พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่ได้เป็นสมุจเฉท เมื่อยังไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล ก็ยังต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือ เป็นผู้ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉะนั้น จึงไม่ควรประมาทกิเลส และจะต้องเข้าใจสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง ตามเหตุผล จึงจะสามารถอบรมเจริญปัญญาที่ดับกิเลสได้จริง ๆ เป็นสมุจเฉท
.......................................